ข่าวประชาสัมพันธ์

กฟผ. คว้า 2 เหรียญเงิน และ Special Prize ในเวที International Exhibition of Inventions Geneva ครั้งที่ 49

          นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ (ชยน.) ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำทีมนักวิจัยและนักประดิษฐ์ กฟผ. รับ 2 รางวัล ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จากการประกวดและจัดแสดงในเวที “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 – 21 เมษายน 2567 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยผลงานระบบบริหารจัดการพลังงาน (ENZY: Energy Management Platform) ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และรางวัล Special Prize จาก The 1st Institute Inventors and Researchers in I.R. Iran ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และผลงานเรื่องสารปรับปรุงดินกรดฮิวมิค กฟผ. ผลพลอยได้จากการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ (EGAT Humic Soil Amendment: a by-Product of Lignite Mining) ซึ่งเป็นผลงานต่อยอดงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ระหว่าง กฟผ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ซึ่งในโอกาสนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดีกับ กฟผ.

 

 

 

 

8 สิ่งประดิษฐ์ กฟผ. คว้า 10 รางวัล จากเวทีประกวดงานวิจัยนานาชาติ IPITEx 2024

          นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์การ (ชยอ.) ทำการแทน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ (รวย.) เปิดเผยว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่งเสริมการคิดค้น พัฒนา ประดิษฐ์นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ มุ่งสู่องค์กรนวัตกรรมพลังงาน โดย กฟผ. ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จำนวน 8 ผลงาน เข้าร่วมประกวดในงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx 2024) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจัดขึ้นภายในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2567
ณ Event Hall 100 - 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดย กฟผ. สามารถคว้า 10 รางวัลนวัตกรรม ดังนี้

รางวัล Special Prize on Stage ประเภท “The Outstanding International Invention & Innovation Award” และ รางวัลเหรียญทอง Gold Prize ได้แก่

     - ผลงานเรื่อง Air Purification Tower with Plasma Technique จากฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (อวน.) เป็นการทำงานของหอฟอกอากาศ ซึ่งใช้เทคนิคการกำเนิดพลาสมาโดยใช้ไฟฟ้าแรงสูง เพื่อสร้างความเครียดสนามไฟฟ้า ทำให้อากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า (Pre-charge) จากนั้นจึงปล่อยประจุไฟฟ้าไปเกาะกับอนุภาคฝุ่น PM2.5 เมื่ออนุภาคฝุ่นที่มีประจุเคลื่อนตัวผ่านห้องดักจับอนุภาคก็จะถูกกักเก็บได้โดยง่าย

รางวัลเหรียญทอง Gold Prize และรางวัลพิเศษ The Outstanding Award จาก Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ ได้แก่

     - ผลงาน Slide Pump Set จากฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) เนื่องจากการปฏิบัติงานยกระดับสายส่ง และ Clip In เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน Lineman มีอาการบาดเจ็บบริเวณหลังและไหล่ขณะปฏิบัติงาน การวัด ตัด ควั่น สายตัวนำสัญญาณ (Conductor) ทำได้ยากเนื่องจากช่องว่างในการทำงานแคบเกินไป ส่วนต่อเชื่อม (Compression Dead End Sleeve) คดงอ ส่งผลให้ค่าแรงดึง (Tension) ไม่ได้ตามที่คำนวณไว้ จึงสร้างเครื่องมือที่มารับน้ำหนักหัวลูกรีดเกลียว (Die) และสามารถเลื่อนหัว Die ในขั้นตอนการปั๊มหัวสายไฟฟ้าโดยขยายช่องว่างในการทำงาน ให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้น เรียกว่า “เครื่องมือชุด Slide Pump”

รางวัลเหรียญทอง Gold Prize ได้แก่

     - ผลงาน Wire Grip Installer & Remover Tool จากฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) ซึ่งในการปฏิบัติงานสายส่งหลาย ๆ งาน จะต้องมีอุปกรณ์รับแรงดึงของสายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อลดแรงดึงให้สายไฟฟ้าไม่มีแรงดึงในสาย เพื่อผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานตัด-ต่อสาย หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนสายไฟฟ้าแรงสูงได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่จับสายไฟฟ้าเพื่อรับแรงดึงคือ Wire Grip ในงานยกระดับ ผู้ปฏิบัติงานต้องออกไปติดตั้ง Wire Grip ที่อยู่นอกบันไดออกสาย เป็นระยะ 3 เมตร ด้วยความยากลำบาก และใช้เวลา 7 นาที สำหรับติดตั้ง Wire Grip ทั้ง 2 ตัว โดยต้องปฏิบัติงานทั้ง 2 ด้าน จำนวน 3 เฟส 2 วงจร รวม 12 จุดงาน ทำให้พนักงานบำรุงรักษาสายส่งปวดเมื่อยร่างกาย เพราะต้องใช้พลังงานและกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นอย่างมาก และมีผลทำให้การทำงานล่าช้า ส่งผลให้ต้องใช้เวลาดับกระแสไฟฟ้าเป็นเวลานาน จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ติดตั้ง Wire Grip

   - ผลงาน Decision Support System for Spare Transformer Management จากฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบส่ง (อหส.) เนื่องจากมีหม้อแปลงไฟฟ้านอกระบบ 110 เครื่อง ที่ไม่มีการบ่งชี้ว่าเครื่องใดยังมีความจำเป็น หรือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้เกิดต้นทุนบำรุงรักษา ต้นทุนการจัดเก็บและขนย้ายที่มากเกินไป เป็นภาระงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยไม่เกิดประโยชน์ ทั้งยังทำให้ กฟผ. สูญเสียกำไร ไม่มีศูนย์รวมข้อมูลของหม้อแปลงนอกระบบ เพื่อให้หน่วยงานฝ่ายปฏิบัติการต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนงาน จัดลำดับความสำคัญ หรือตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน

     - ผลงาน The Quality Checking Method of the Splicing Joint for Coal Conveyor Belts จากฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ (อผม.) ผลงานนี้ถูกคิดค้นเพื่อตอบคำถามว่าจะทราบได้อย่างไรว่ารอยเชื่อมสายพานที่ทำการบำรุงรักษาได้คุณภาพตามต้องการ และเพื่อให้สามารถทดสอบได้ทันทีโดยเฉพาะแรงยึดเกาะระหว่างส่วนโลหะ (Steel Cord) และส่วนยาง Rubber ซึ่งถือเป็นอีกตัวแปรที่ส่งผลของความแข็งแรงของสายพาน จึงสร้างชิ้นงานขึ้นมาเพื่อนำไปทดสอบความแข็งแรงและคุณภาพรอยต่อของสายพานขนส่งถ่านหิน โดยชิ้นงานที่ได้จะอยู่ในขั้นตอนกระบวนการเดียวกันกับรอยต่อสายพานทุกอย่าง

      - ผลงาน EGAT Point on Wave Switching Adaptive Control 2023 จากฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบส่ง (อหส.) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมมุมในการสับ Power Circuit Breaker (PCB) ให้อยู่ในตำแหน่งแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์หลักในการลดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงค่าทางไฟฟ้าแบบกระทันหัน (Transient) ทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับระบบและกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ข้างเคียง

     - ผลงาน Variable Speed Small Hydropower Plant (Prototype) 100 kW จากฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน (อพพ.) เป็นการออกแบบและพัฒนากังหันน้ำแบบความเร็วรอบไม่คงที่และคอนเวอร์เตอร์ (Back to Back Converter) เพื่อเพิ่มขอบเขตการเดินเครื่องและประสิทธิภาพ รวมถึงชุดควบคุมสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวร มาใช้ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันและความถี่ไม่คงที่ ให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและจ่ายไฟเข้าสู่ระบบไฟฟ้าหลัก

รางวัลเหรียญเงิน Silver Prize ได้แก่

     - ผลงาน Real-time High Voltage Substation Intrusion Detection System with AI CiRA CORE จากฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีดิจิทัล (อปท.) และฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) เป็นการนำ AI มาใช้เพื่อเป็นสมองในการประมวลผลภาพ (Image Processing) จากภาพที่รับมาจากระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อนำไปสู่การเชื่อมต่อกับระบบกลไกในการขับไล่สิ่งรุกล้ำออกจากบริเวณวิกฤตภายในสถานีไฟฟ้า

          ทั้งนี้งาน Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx) เป็นเวทีนานาชาติที่จัดขึ้น เพื่อจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีศักยภาพและน่าสนใจของนักประดิษฐ์ นวัตกรระดับนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ในวันนักประดิษฐ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ในการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”

Source : EGAT Today

กฟผ. โชว์ผลงานนวัตกรรมด้านพลังงาน ส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลาง ด้านระบบไฟฟ้าของภูมิภาค ในงานวันนักประดิษฐ์

          เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ (ชยน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำทีมนักประดิษฐ์ กฟผ. ร่วมนำเสนอผลงานเด่นด้านนวัตกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 (Thailand Inventors’ Day 2024) ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ Event Hall 100 - 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิจัย นักประดิษฐ์ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เข้าร่วม

          นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ. กล่าวว่า การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญในยุคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ช่วยส่งเสริมและผลักดันการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สังคมและประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา กฟผ. ให้ความสำคัญ สนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาการทำงานด้านการผลิตและส่งไฟฟ้าควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ

          ภายในงาน กฟผ. ยังได้นำ 6 ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ซึ่งได้รับรางวัลจากเวทีระดับประเทศและนานาชาติร่วมจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลที่สนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงส่งต่อแรงบันดาลใจและจุดประกายให้ผู้ที่เข้าชมงานเห็นถึงความสำคัญของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนี้ 1) ระบบวิเคราะห์และสั่งการระบบไฟฟ้าข้ามประเทศแบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะและไอโอที ควบคุมการรับส่งไฟฟ้าข้ามประเทศ เนื่องจากระบบส่งไฟฟ้าของไทยบางส่วนเชื่อมต่อกับ สปป.ลาว หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติอาจทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างได้ทั้งสองประเทศ กฟผ. จึงนำนวัตกรรมนี้มาใช้สร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของทั้งสองประเทศ 2) เครื่องช่วยขึ้น - ลงที่สูงสำหรับช่างสาย ซึ่งพร้อมต่อยอดให้บริการแก่โครงข่ายระบบไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน 3) ระบบบริหารจัดการพลังงาน (ENZY One Platform) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสถานที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะมีการทดสอบในประเทศเพื่อนบ้านด้วย 4) EGAT EV Business Solutions นวัตกรรมรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตแบบครบวงจร ทั้งสถานีชาร์จ Elex by EGAT Application: EleXA และระบบ BackEN EV ตัวช่วยบริหารจัดการสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนซึ่งมีสถานีชาร์จในประเทศเพื่อนบ้านในเครือข่ายแล้วในปัจจุบัน 5) Water Solution Drone การบริการตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติโดยอากาศยานไร้คนขับ และ 6) ระบบการตรวจจับเพลิงไหม้ด้วยการประมวลผลภาพ

          นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้นำ 8 ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในเวทีนานาชาติประจำปี 2566 เข้าร่วมประกวด 2024 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx 2024) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพด้วย เช่น การพัฒนาต้นแบบหอฟอกอากาศสำหรับชุมชน ด้วยเทคนิคพลาสมา เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบปรับความเร็วรอบ (ต้นแบบ) ขนาด 100 kW เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพรอยต่อสายพานขนส่งถ่านหิน และเครื่องมือ ชุด Slide Pump เป็นต้น

ที่มา :  EGAT Today

นักประดิษฐ์ กฟผ. รับมอบใบประกาศเกียรติคุณจาก อว. หลังคว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ

นักประดิษฐ์ กฟผ. เข้ารับมอบใบประกาศเกียรติคุณจาก รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในโอกาสเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเวทีนานาชาติจากไต้หวัน เยอรมนี และเกาหลีใต้ รวม 6 ผลงาน สะท้อนความเป็นองค์การแห่งวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีโลก

          เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ภายในงาน Future Thailand โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานในพิธีพร้อมกล่าวแสดงความยินดี แก่ผู้ที่ได้รับรางวัล มี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้กล่าวรายงาน ในการนี้ นายสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (ช.อวน.) นำทีมนักประประดิษฐ์ กฟผ. พร้อมด้วยนักประประดิษฐ์และนักวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดต่างประเทศเข้าร่วมงาน ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ 1 ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ

          นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์และนักวิจัยทุกคนที่ได้รับรางวัล ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งทุกท่านล้วนเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามนโยบาย ของรัฐบาล รู้สึกดีใจและปลื้มใจที่ได้เห็นความสำเร็จของบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ซึ่งสะท้อนศักยภาพคนไทยที่มีความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก ทั้งนี้ การพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยที่ผ่านมาได้สนับสนุนทุนการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประกาศยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานที่มีศักยภาพและได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ หวังว่าในอนาคตหน่วยงาน ที่เกี่ยวเนื่องในด้านนี้จะร่วมมือกันเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

          ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า วช. มีภารกิจสำคัญในการมอบเกียรติคุณ เชิดชูเกียรติหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นการยกย่องเชิดชูนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในด้านต่าง ๆ โดยการสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้นักประดิษฐ์และนักวิจัยเกิดการพัฒนาศักยภาพ กระตุ้นให้มีการผลิตองค์ความรู้ใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ รวมทั้งผลักดันผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ รวมทั้งผลักดันให้เกิด การนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต

 

          สำหรับผลงานของนักประดิษฐ์ กฟผ. ที่เข้ารับรางวัลมี 6 ผลงาน ดังนี้ 1. ระบบทดสอบอัตโนมัติสำหรับไดเร็คชั่นแนล เซอร์โวคอนโทรลวาล์วหลายขนาด ผลงานของโรงไฟฟ้าวังน้อย (อฟว.) ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทองแดง และ รางวัลพิเศษ จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association ในงาน “Taiwan Innotech Expo 2023” (TIE 2023) ระหว่างวันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2566 ณ เมืองไทเป ไต้หวัน โดยมีนายชาญชัย จรัสบุญเสรี ช่างระดับ 8 แผนกบำรุงรักษา อุปกรณ์ควบคุมและเครื่องวัด (หบอน-ฟ.) กองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า (กบรน-ฟ.) อฟว. เป็นผู้แทนรับรางวัล

          2. เครื่องช่วยขี้น - ลงที่สูงสำหรับช่างสาย ผลงานของฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทอง และ รางวัลพิเศษ CAI Award จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในงาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2023) ระหว่างวันที่ 28 - 30 ตุลาคม 2566 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีนายคมกฤษ ศรีสุดา หัวหน้ากองควบคุมระบบ (กคอ-ส.) อปอ. เป็นผู้แทนรับรางวัล

          3. อุปกรณ์พิเศษเพื่อรองรับโรเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่สามารถปรับระดับและเคลื่อนย้ายได้ ผลงานของฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล (อบค.) ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในงาน iENA 2023 โดยมี นายวรพงษ์ ชำนาญพานิชย์ วิศวกรระดับ 4 แผนกวิศวกรรมกังหันก๊าซและดีเซล (หวด-ธ.) กองกังหันก๊าซและดีเซล (กกห-ธ.) อบค. เป็นผู้แทนรับรางวัล

          4. การพยากรณ์รอบการบำรุงรักษาระบบ Thrust Bearing Oil Cooler ผลงานของเขื่อนวชิราลงกรณ (อขว.) ซึ่งได้รับเหรียญทอง ในงาน “Seoul International Invention Fair 2023” (SIIF 2023) ระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยมี นายเมธะพนธ์ สิทธิพันธ์ วิศวกรระดับ 7 แผนกวางแผนและประสิทธิภาพ (หวปว-ฟ.) กองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า (กบว-ฟ.) อขว. เป็นผู้แทนรับรางวัล

          5. โปรแกรมตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัย ผลงานของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (อฟน.) ซึ่งได้รับเหรียญทอง ในงาน SIIF 2023 โดยมี นายเอกพจน์ แจ่มกระจ่าง หัวหน้าแผนกเดินเครื่องกะ 2/1 (หดฟน2/1-ฟ.) กองเดินเครื่อง (กดฟน-ฟ.) อฟน. เป็นผู้แทนรับรางวัล

          6. ระบบควบคุมความถี่ไฟฟ้าด้วย EGAT Automatic Load Control (EGAT-ALC) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบ Off-grid ผลงานของฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า (อบฟ.) และเขื่อนรัชชประภา (อขช.) ซึ่งได้รับเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษ จาก Taiwan Invention Association (TIA) ไต้หวันในงาน SIIF 2023 โดยมี นายวรวิทย์ ชินกิจรัตนวานิช วิศวกรระดับ 7 แผนกระบบควบคุมเครื่องจักรไฟฟ้า (หรคฟ-ธ.) กองบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและมอเตอร์ (กบกม-ธ.) อบฟ. เป็นผู้แทนรับรางวัล

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (อวน.) จัดงานรัฐกิจสัมพันธ์ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. ประจำปี 2566

 

เมื่อวันที่ 6-8 ธันวาคม 2566 ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (อวน.) ได้จัดงานรัฐกิจสัมพันธ์ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. ประจำปี 2566 ณ โรงไฟฟ้าลำตะคองชบภาวัฒนา โดยมีนายสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (ช.อวน.) เป็นประธานเปิดงานฯ พร้อมด้วยคณะผู้วิจัยจากหน่วยงานสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยต่างๆ และผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.เข้าร่วมงานรัฐกิจสัมพันธ์ ประจำปี 2566 ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ณ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา ในวันดังกล่าวได้มีการเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ สำนักงานกลาง กฟผ, อ่างพักน้ำตอนบนเขายายเที่ยง, โรงไฟฟ้ากังหันลม, โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคองชลภาวัฒนา และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. 
ลำตะคอง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานผ่านสัมมนา 3 หัวข้อ ดังนี้

ㆍ แนวทางงานวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ㆍการสืบค้นสิทธิบัตรในงานวิจัย โดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ㆍ เทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันสำหรับการผลิตไฟฟ้า

       เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของ กฟผ. และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในภารกิจ แนวทางงานวิจัย กระบวนการดำเนินงานโครงการวิจัยของ กฟผ. ให้กับผู้วิจัยจากสถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้ง แลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็น ด้านปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 73 ท่าน จากหน่วยงานภายนอกทั้งหมด 15 หน่วยงาน

 

 

 

 

ENZY One Platform คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมบริการและการแก้ปัญหา จากเวที IIA 2023 ณ กรุงไทเป ไต้หวัน

นวัตกรรม ENZY One Platform ของ กฟผ. คว้ารางวัล The Winner for the Prestigious International Innovation Awards (IIA) 2023 ด้าน Service & Solution 
ณ กรุงไทเป ไต้หวัน แสดงถึงศักยภาพด้านนวัตกรรมของคนไทยที่ได้รับ การยอมรับในระดับนานาชาติ

 

          นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์การ (ชยอ.) ทำการแทน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ (รวย.) เปิดเผยว่า กฟผ. ส่งเสริมการคิดค้น พัฒนา ประดิษฐ์นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจในการรักษาความมั่นคง ด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ มุ่งสู่องค์การนวัตกรรมพลังงาน ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (อวน.) จึงได้ส่งผลงานนวัตกรรม “ENZY One Platform” เข้าร่วมประกวดในงาน International Innovation Awards 2023 (IIA 2023) และคว้ารางวัล The Winner for the Prestigious International Innovation Awards (IIA) 2023 ด้าน Service & Solution จาก Enterprise Asia เพื่อยกย่องเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นในประเภทผลิตภัณฑ์ บริการและการแก้ปัญหา โดยผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. สังกัดฝ่ายพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (อพธ.) ฝ่ายจัดการธุรกิจนวัตกรรมพลังงาน (อธพ.) และฝ่ายจัดการและพัฒนาระบบดิจิทัล (อจท.) เข้าร่วมรับรางวัลจาก Mr. Richard Tsang, President of Enterprise Asia เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรม Hilton Taipei Sinban กรุงไทเป ไต้หวัน ซึ่งงานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 และ กฟผ. ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงานนี้เป็นปีแรก

 

 

          ENZY One Platform เป็นการพัฒนาโครงสร้างและรูปแบบการรับ - ส่งข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการพลังงาน (ENZY Platform) เพื่อใช้กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน รวมไปถึงการขยายผลเพื่อรองรับบริการอื่น ๆ เช่น Smart Street Light EMS และ Carbon Credit เพื่อตอบโจทย์นโยบาย Net Zero ของภาครัฐ โดยผู้ใช้งานสามารถติดตามการใช้พลังงาน แบบ Real-Time และแบบย้อนหลัง รวมถึงควบคุมอุปกรณ์ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดค่าใช้จ่าย ได้อย่างน้อย 15% ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของระบบปรับอากาศ นอกจากนี้ระบบบริหารจัดการพลังงานยังมีความสามารถ ในการให้คำแนะนำรูปแบบการประหยัดพลังงาน ซึ่งหากผู้ใช้งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เงินลงทุนสำหรับผู้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่ากับ 150,000 บาท ต่อโครงการ จะให้ผลตอบแทนแก่ กฟผ. ประมาณ 30% ต่อโครงการ

          สำหรับ International Innovation Awards เป็นเวทีการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์ นักวิจัย จากนานาประเทศในแถบเอเชีย จัดขึ้นโดย Enterprise Asia เพื่อยกย่องนวัตกรรมที่โดดเด่นในประเภทผลิตภัณฑ์ บริการ และการแก้ปัญหา ตลอดจนองค์กรและวัฒนธรรมทั่วโลก โดยการเสนอชื่อเข้าร่วมประกวดจะต้องได้รับเชิญจาก Enterprise Asia และผ่านการคัดเลือกและอนุมัติจากคณะกรรมการสรรหาเท่านั้น ซึ่งการประกวดนี้เป็นการจัดแสดงนวัตกรรมที่โดดเด่น และก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ก้าวหน้าสำหรับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก โดยผู้ชนะจะถูกตัดสินผ่านการให้คะแนนโดยคณะกรรมการ อิสระที่มีชื่อเสียง

กฟผ. คว้า 3 รางวัลใหญ่ สิ่งประดิษฐ์จากเวทีนานาชาติ iENA 2023 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

 

         ทีมนักประดิษฐ์ กฟผ. คว้าเหรียญทองและรางวัลพิเศษ “China Association of Inventions (CAI)” จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จากผลงาน “Lineman Lift” ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับช่างสาย ในการขึ้นลงที่สูงสำหรับงานตรวจสอบและงานซ่อมบำรุงสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และรางวัลเหรียญเงิน จากผลงาน “อุปกรณ์รองรับเพลาของเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่สามารถปรับระดับ และเคลื่อนย้ายได้” ซึ่งนำรถเทรลเลอร์ที่สามารถปรับระดับความสูงได้ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการออกแบบโครงสร้าง สำหรับรองรับเพลาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ช่วยลดระยะเวลาทำงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า และลดต้นทุน ค่าเสียโอกาสในการผลิตและขายกระแสไฟฟ้า ในเวที “International Trade Fair, Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

นักวิจัยและนักประดิษฐ์ กฟผ. สร้างชื่อ คว้า 4 รางวัล จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ SIIF 2023 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

          ทีมนักวิจัยและนักประดิษฐ์ กฟผ. สร้างความภาคภูมิใจให้ประเทศไทย คว้า 4 รางวัล จากเวที Seoul International Invention Fair 2023 การันตีมาตรฐานผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม กฟผ. พร้อมต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์ต่อองค์การและประเทศชาติ

         

 

          นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์การ (ชยอ.) ทำการแทน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ (รวย.) เปิดเผยว่า กฟผ. ได้ส่งผลงานการประดิษฐ์คิดค้นที่ได้รับรางวัลดีมาก จำนวนทั้งสิ้น 3 ผลงาน จากการประกวดผลงานที่คิดค้น หรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ กฟผ. ประจำปี 2565 เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานในเวที “Seoul International Invention Fair 2023” (SIIF 2023) ระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้ดำเนินการนำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมการประกวดและจัดแสดง ผลงานร่วม 79 ผลงาน จาก 28 หน่วยงาน         

          ในการนี้ คณะนักวิจัยและนักประดิษฐ์ กฟผ. เข้าร่วมงานดังกล่าว และได้คว้ารางวัลเหรียญทอง จำนวน 2 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 1 รางวัล และรางวัลพิเศษจาก Taiwan Invention Association (TIA) ไต้หวัน ดังนี้

           Gold Medal จำนวน 2 รางวัล จากผลงาน การพยากรณ์รอบการบำรุงรักษาระบบ Thrust bearing oil cooler สังกัดเขื่อนวชิราลงกรณ (อขว.) เพื่อประเมินระยะเวลาในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ Thrust bearing oil cooler ที่เหมาะสม จึงได้ใช้หลักการของ Data Science มาใช้ในการสร้าง Model และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแสดงผลข้อมูล Dashboard Website ของสายงานผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ชฟม.) “RE Management” เพื่อติดตามการพยากรณ์ค่าสถานะ ของอุปกรณ์ และคาดการณ์รอบการบำรุงรักษาอุปกรณ์ แบบ Real-time โดยผลลัพธ์ทางตรงสามารถบริหารบุคลากร แผนกบำรุงรักษาให้สามารถวางแผนปฏิบัติงานหรือช่วยงานโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ได้ และผลลัพธ์ทางอ้อม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ปีละประมาณ 116,800 บาทต่อปี และลดการซื้อผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้ 3 ล้านบาทต่อระบบ และจากผลงาน โปรแกรมตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัย (Smart Safety Inspection Software) สังกัดโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (อฟน.) เพื่อพัฒนากระบวนการการตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า ที่พนักงานเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าดำเนินการ เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาใช้ Check Sheet แบบกระดาษในการตรวจสอบ เปลี่ยนเข้าสู่รูปแบบ Digital เป็นโปรแกรมใช้งานผ่าน Web Application ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยฯ ผ่าน Smart Device ซึ่งจะช่วยให้ Operator ทำงานได้สะดวกขึ้น ลดเวลาการตรวจสอบ ติดตามได้แบบ Real-Time ส่งผลทำให้เพิ่มความปลอดภัยต่อบุคคล หน่วยงาน และองค์การ เนื่องจากอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้งานตลอดเวลา

           Silver Medal จำนวน 1 รางวัล และรางวัลพิเศษจาก Taiwan Invention Association (TIA) ไต้หวัน จำนวน 1 รางวัล จากผลงาน ระบบควบคุมความถี่ไฟฟ้าด้วย EGAT Automatic Load Control (EGAT-ALC) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบ Off Grid สังกัด ฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า (อบฟ.) และ เขื่อนรัชชประภา (อขช.) เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมความถี่ไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผ่านการควบคุมกระแสไฟฟ้าของ Ballast Load สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ ทดแทนอุปกรณ์เดิมที่ชำรุดเสียหายไป โดยได้มีการนำอุปกรณ์ควบคุม EGAT-Universal Controller และชุดควบคุม Pulse firing angle ของ Thyristor มาใช้งานร่วมกัน ซึ่งมีการเพิ่มเติมฟังก์ชันควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ Guide vane ให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าของชุมชน เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรน้ำ ในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์ทั้งประสิทธิภาพของการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการประหยัดทรัพยากรน้ำ

          สำหรับเวที SIIF 2023 เป็นเวทีการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์จากประเทศต่าง ๆ ซึ่งจัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์ของสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลเกาหลี โดยในงานดังกล่าวมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันต่าง ๆ นักวิจัยและนักประดิษฐ์อิสระจากเกาหลีและต่างประเทศ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงกว่า 1,000 ผลงาน จากกว่า 30 ประเทศ โดย วช. มีความร่วมมือกับ KIPA ในการเป็นหน่วยงานกลางของประเทศไทย (Exclusive Agency) ในการคัดกรองผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในเวที SIIF เพื่อสร้างโอกาสและมาตรฐาน ให้กับผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยในเวทีนานาชาติ

กฟผ. คว้า “เหรียญทองแดง” และรางวัลพิเศษ ในงาน Taiwan Innotech Expo 2023 (TIE 2023)

นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์การ (ชยอ.) ทำการแทน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ (รวย.) เปิดเผยว่า กฟผ. ส่งเสริมการคิดค้น พัฒนา ประดิษฐ์นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุน

ผู้รับผิดชอบข้อมูล : ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ผู้ดูแลเว็บไซต์ : ปิยะ โรจน์ฤทธิไกร

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ชั้น 10 อาคาร  ท.103

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
53 หมู่ 2 ถ.จรัญสนิทวงศ์ ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

004095
Today: 1
This Week: 78
This Month: 395
Total: 4,095